เกี่ยวกับเรา

 

ศูนย์ความเป็นเลิศทางห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยระดับชีวโมเลกุลทางการแพทย์
(Srinagarind Excellent Laboratory; SEL)

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทนำ
        งานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยระดับชีวโมเลกุลทางการแพทย์ ประจำปีพ.ศ. 2561 ภายใต้หลักการและกรอบยุทธศาสตร์การบริหารของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยกำหนดวิสัยทัศน์ไว้  คือ เป็นศูนย์ที่มีความเป็นเลิศทางบริการ วิจัย และถ่ายทอดความรู้ ด้านการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติระดับชีวโมเลกุลทางการแพทย์ ที่มีมาตรฐานระดับสากล และเป็นแหล่งอ้างอิงในระดับอาเซียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านบริการทางการแพทย์ การวิจัยพัฒนา และ การเรียนการสอน เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันได้ในเชิงพาณิช สู่การพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต โดยการดำเนินงานในลักษณะดังกล่าวจะใช้มาตรฐานรูปแบบเดียวกับเอกชน และคงไว้ซึ่งธรรมธิบาลในระบบบริการทางการแพทย์

 

เป้าหมาย
        งานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีเป้าหมายหลักที่มุ่งเน้นการให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แก่ผู้รับบริการด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ให้ผลการตรวจที่น่าเชื่อถือ ด้วยมาตรฐานระดับสากล (ISO 15189-90) พร้อมด้วยการบริการที่เป็นเลิศทางการตรวจในระดับชีวโมเลกุลทางการแพทย์ มุ่งเน้นการบริการตรวจวินิจฉัย และติดตามการรักษาทางการแพทย์ในระดับชีวโมเลกุล ซึ่งประกอบด้วย 1)โรคติดเชื้อต่าง ๆ 2)โรคมะเร็ง  3)โรคธาลัสซีเมีย 4)โรคในระบบภูมิคุ้มกันและการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อ  5)โรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับแพทย์ผู้เชียวชาญเฉพาะระดับสูงด้านต่าง ๆ   คณาจารย์ และนักวิจัย ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดความรู้ ที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระบบบริการทางห้องปฏิบัติการสมัยใหม่ได้ 

 

ศักยภาพ

 - โรงพยาบาลศรีนครินทร์ได้รับมาตรฐาน HA และเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสูง

 - ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ได้รับรองมาตรฐานในระดับสากล (ISO15189-90)

 - บุคลากรมีความรู้ความเชี่ยวชาญสูงในการตรวจทางห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุลทางการแพทย์

 - ห้องปฏิบัติการมีระบบ Total automation Laboratory รวมถึงใช้เทคโนโลยีระดับสูงในการตรวจในระดับ DNA ในระบบบริการ

 - ห้องปฏิบัติการมีระบบ Laboratory Information System (LIS)  โดยมีระบบ Web lab service และ Web site e-commerce ที่ทันสมัย เพื่อรองรับระบบริการรับ-ส่งข้อมูล Online ที่ความปลอดภัยในระดับสูง

 - มีระบบ Logistic สำหรับบริการด้านการนำส่งส่งตรวจทางการแพทย์โดยเฉพาะ 

 

ดัชนีชี้วัดมาตรฐานของขั้นตอนปฏิบัติงาน (KPI)

 - ศูนย์ SEL ให้บริการตรวจวินิจฉัย และติดตามการรักษาทางการแพทย์ระดับชีวโมเลกุล ครบทั้ง 5 ด้าน1)โรคติดเชื้อต่าง ๆ 2)โรคมะเร็ง  3)โรคธาลัสซีเมีย 4)โรคในระบบภูมิคุ้มกันและการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อ  5)โรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด ครบ 100%

 - จำนวนรายการตรวจวิเคราะห์ระดับชีวโมเลกุลที่ผ่านการรับรอง ISO 15189-90 อย่างน้อย 10 test

 - มีจำนวนนักเทคนิคการแพทย์ในระดับ ปริญญาโท หรือปริญญาเอกไม่น้อยกว่า 8  คน

 - ระยะเวลาการรายงานผลการตรวจ อยู่ภายใต้เกณฑ์ที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

 - ศูนย์ SELมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ หรือมีสิทธิบัตร หรือมีอนุสิทธิบัตรอย่างน้อย ปีละ 1 เรื่อง และมีการนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการระดับชาติ หรือนานาชาติอย่างน้อย ปีละ 2 เรื่อง

 - ศูนย์ SELมีการจัดอบรม ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับรายการทดสอบต่าง ๆของห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยระดับชีวโมเลกุลทางการแพทย์อย่างน้อย ปีละ 2  ครั้ง

 - ศูนย์ SEL ได้รับผลการประเมินจากผู้รับ และผู้ให้ บริการทางห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยระดับชีวโมเลกุลทางการแพทย์ไม่น้อยกว่า 80%
 

 

ผลงานเด่นของเรา

VDO

กรุณาเข้าสู่ระบบ
×
ลืมรหัสผ่าน
×